กิจกรรมคณิตศาสตร์
หน่วยไข่
กิจกรรมไข่หรรษา
วิธีดำเนินกิจกรรม
การนับ
1. นับจำนวนไข่ว่ามีกี่ฟอง
2. จัดประเภทและนับจำนวนไข่ว่ามีกี่ชนิด
3. นับตะกร้าที่ใส่ไข่ว่ามีกี่ใบ
4. นับสีของเปลือกไข่ว่ามีกี่สี
5.ให้เด็กนับรูปทรงของเปลือกไข่
ตัวเลข
1. นำตัวเลขตามจำนวนของไข่ที่นับได้มาใส่ในตะกร้าทั้งหมด
2. นำตัวเลขมาใส่ตามจำนวนของสีเปลือกไข่
3. ครูวางไข่ในตะกร้าแล้ว ให้เด็กหยิบตัวมาวางตามจำนวนของไข่แต่ละชนิด
การจับคู่
1. ครูให้เด็กจับคู่ตามสีของเปลือกไข่
2. ครูให้เด็กจับคู่ตามขนาดของไข่
3. ครูให้เด็กจับคู่ไข่ตามตัวเลขที่ครูกำหนด
การจัดประเภท
1.ให้เด็กบอกประเภทสี....ของเปลือกไข่
2.ให้เด็กบอกประเภทรูปทรง....ของไข่
3.ให้เด็กบอกประเภทไข่ที่มีขนาดเล็ก
4.ให้เด็กบอกไข่ที่มีรูปทรงกลม
การเปรียบเทียบ
1.เด็กสามารถเปรียบเทียบน้ำหนักของไข่
2.เด็กสามารถเปรียบเทียบผิวของเปลือกไข่
3.เด็กสามารถเปรียบเทียบขนาดของไข่แดง
4.เด็กสามารถเปรียบเทียบสีของไข่แดง
การจัดลำดับ
1.เด็กสามารถเรียงลำดับไข่จากเล็กไปใหญ่
2.เด็กสามารถเรียงลำดับตามน้ำหนักของไข่
รูปทรงและเนื้อที่
1.ให้เด็กสังเกตุรูปทรงและบอกว่าไข่ว่ามีรูปทรงกี่ประเภท
2.ให้เด็กวัดเส้นรอบรูปของเปลือกไข่(ดัวยลวดกำมะยี่)
3.ให้เด็กหาภาชนะที่มีขนาดเหมาะสมมาใส่ไข่ตามขนาดของไข่
การวัด
1.ให้เด็กนำไม้บรรทัดมาวัดขนาดของไข่(ตามแนวตั้ง)
2.ให้เด็กวัดรอบนอกของเปลือกไข่ดัวยลวดกำมะยี่โดยการม้วนลวดรอบเปลือกไข่แล้วนำมาวัด
เซท
1.แผงไข่
2.ขนาด
3.รูปทรง
4.พื้นผิว
5.น้ำหนัก
6.สี
เศษส่วน
1.ให้เด็กแบ่งไข่ 2 ตะกร้าให้เท่าๆกัน
2.ให้เด็กแบ่งแยกไข่แต่ละชนิดออกจากกัน
3.ให้เด็กแบ่งไข่ดาวออกเป็นสองส่วนแล้วกินหนึ่งส่วนเรียกว่ากินไปครึ่งหนี่ง
4.ให้เด็กแบ่งไข่ดาวตามจำนวนของเพื่อน
การทำตามแบบหรือลวดลาย
1.สี
2.ขนาด
3.รูปทรง
4.พื้นผิว
5.น้ำหนัก
การอนุรักษ์
1.มีไข่ชนิดเดียวกันอยู่สองฟองใบที่หนึ่งทำไข่ต้ม ใบที่สองทำไข่ดาวแล้วให้เด็กเลือกไข่ที่คิดว่ามีปริมาณมากกว่า
2.ให้เด็กสังเกตและบอกว่าไข่ที่ใส่ในถ้วยหรือไข่ที่ใส่ในจานมีปริมาณมากกว่ากัน
วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2552
วันนี้อาจารย์ สอนเกี่ยวกับการวางแผนการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ ในแต่ละกลุ่มมีกี่คนแล้วให้สอนตามวัน โดยอาจจะจัดการสอนแบบ
วันที่ 1 สอนเกี่ยวกับลักษณะของหน่วย โดยการใช้เกณฑ์อย่างเดียว เช่น รูปร่าง ขนาดโดยมีการใช้คำถามการเปรียบเทียบ การนับ
วันที่ 2 สอนเกี่ยวกับส่วนประกอบของหน่วยที่ทำ โดยอาจมีการทบทวนความรู้เดิมต่อเนื่องจากที่เราสอนเมือวานนี้ อาจใช้เพลงหรือนิทาน คำคล้องจอง หรืออาจจะใช้คำถามเช่น เมื่อวานนี้เราเรียนเกี่ยววกับอะไรเด็กๆ จำได้หรือเปล่ามีอะไรบ้างคะ
วันที่ 3 สอนเกี่ยวกับประโยชน์ของหน่วยที่ทำ โดยสอนผ่านนิทานที่สามารถบอกประโยชน์ของเรื่องที่ทำได้ หรืออาจจะพูดถึงประโยชน์และโทษของหน่วยที่
วันที่ 1 สอนเกี่ยวกับลักษณะของหน่วย โดยการใช้เกณฑ์อย่างเดียว เช่น รูปร่าง ขนาดโดยมีการใช้คำถามการเปรียบเทียบ การนับ
วันที่ 2 สอนเกี่ยวกับส่วนประกอบของหน่วยที่ทำ โดยอาจมีการทบทวนความรู้เดิมต่อเนื่องจากที่เราสอนเมือวานนี้ อาจใช้เพลงหรือนิทาน คำคล้องจอง หรืออาจจะใช้คำถามเช่น เมื่อวานนี้เราเรียนเกี่ยววกับอะไรเด็กๆ จำได้หรือเปล่ามีอะไรบ้างคะ
วันที่ 3 สอนเกี่ยวกับประโยชน์ของหน่วยที่ทำ โดยสอนผ่านนิทานที่สามารถบอกประโยชน์ของเรื่องที่ทำได้ หรืออาจจะพูดถึงประโยชน์และโทษของหน่วยที่
นิทานเรื่อง ลูกหมีสามตัวอยู่อย่างพอเพียง
ในป่าแห่งหนึ่ง มีลูกหมีอาศัยอยู่ สาม ตัว คือพี่หมีใหญ่ น้องหมีกลาง และน้องหมีเล็กทุกๆวันลูกหมีทั้ง สาม ตัวจะต้องออกไปช่วยกันหาอาหารในป่า พี่หมีใหญ่จะสอนน้องหมีทั้งสองอยู่เสมอว่าเวลาเราหาอาหารมากินต้องกินอย่างพอดี ไม่กินทิ้งกินขว้าง น้องหมีเล็กไม่เข้าใจว่าทำไมต้องกินพอดี พี่หมีใหญ่จึงตอบไปว่า หากเรากินทิ้งกินขว้างอาหารก็จะหมด วันอื่นๆเราก็จะไม่มีกิน น้องหมีเล็กก็ยิ้มอย่างเข้าใจ เช้าวันหนึ่งน้องหมีเล็กไม่สบาย พี่หมีใหญ่จึงบอกให้น้องหมีกลางดูแลน้องหมีเล็กเพราะพี่หมีใหญ่จะออกไปหาอาหารเช้าคนเดียว พี่หมีใหญ่ก็เดินเข้าไปในป่าลึก พี่หมีใหญ่ก็ไปเจอต้นกล้วยแล้วพูดกับตัวเองว่า ทำไมเยอะจังเดี่ยวเราลองนับดูซิว่ามีกี่ต้น 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 โอ้โหมีตั้ง 10 ต้น ทุกๆต้นมีกล้วยหมดเลยพี่หมีใหญ่ดีใจจึงนำต้นกล้วยต้นที่1 กลับบ้านเพื่อให้น้องทั้ง2กิน และเหลือไว้กินวันหลังอีก 9 ต้น น้องหมีทั้งสองกินกล้วยอย่างอร่อย หลังจากวันนั้นทุกๆเช้าพี่หมีใหญ่ก็เข้าป่าไปนำต้นกล้วยมาให้น้องๆทั้งสองกินจนครบทั้งหมด 10 ต้น
วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)